วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การกำหนดสิทธิในการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วย

1.1) เจ้าหน้าที่เวชระเบียนและสถิติ บันทึกข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยที่สำคัญ ดังนี้
  • บันทึกข้อมูลในโปรแกรม HOSxP โดย Login ด้วย username และ password ของตัวเอง
  • ชื่อ-สกุล ของผู้ป่วยต้องพิมพ์ให้ถูกต้อง ตรงกับเอกสารที่ระบุตัวผู้ป่วย(บัตรประชาชน,สำเนาทะเบียนบ้าน)
  • คำนำหน้า ต้องพิมพ์ให้ถูกต้องตามที่ผู้ป่วยระบุ และถูกต้องตามรหัสมาตรฐานของ สนย.
  • วัน-เดือน-ปี เกิดของผู้ป่วย อายุผู้ป่วยต้องพิมพ์ให้ครบถ้วน ถูกต้องตรงกับเอกสารของผู้ป่วย
  • เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน เพื่อใช้ในการระบุตัวผู้ป่วยในการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานภายนอก เช่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแ่ห่งชาติ กรมบัญชีกลาง สำนักงานประกันสังคม
  • อาชีพของผู้ป่วย
  • การศึกษาของผู้ป่วย
  • ที่อยู่ของผู้ป่วย และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้
  • บุคคลอ้างอิงที่ไม่ใช่ตัวผู้ป่วย
  • เลขที่โรงพยาบาล (Hospital number)
  • ภาพถ่ายบุคคล และสแกนลายนิ้วมือ กรณีผู้ป่วยต่างด้าวหรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถค้นหาเลขประจำตัวประชาชนได้
  • สิทธิหลักประกันสุขภาพประจำตัว โดยตรวจสอบข้อมูลจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแ่ห่งชาติ
  • พิมพ์ข้อมูล OPD CARD โดยมีข้อมูลวันที่พิมพ์ และชื่อผู้ที่พิมพ์
  • กรณีการบันทึกด้วยลายมือที่อ่านออกและชัดเจนโดยใช้ปากกา หากมีการแก้ไขความผิดพลาดให้ขีดฆ่ารายการเดิมแล้วเขียนรายการใหม่ พร้อมระบุชื่อผู้แก้ไข วัน เวลา ที่แก้ไข
  • หลีกเลี่ยงการใช้ตัวย่อ หากจำเป็นต้องใช้ ให้ใช้ตัวย่อที่เป็นมาตรฐาน
  • กรณีที่เป็นแบบฟอร์มที่ต้องเติมข้อมูล หากไม่มีข้อมูลให้ใช้เครื่องหมาย "-"
1.2) แพทย์ บันทึกข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยที่สำคัญ ดังนี้