วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554


เลขที่ SP-IMT-004
วันที่ปรับปรุง 08/08/2554
เรื่อง ระเบียบปฏิบัติการประเมินและการปรับปรุงเวชระเบียน
............................................................................

การประเมินและการปรับปรุงเวชระเบียน มีแนวทางดังนี้
  1. เนื้อหาและความถูกต้องของการบันทึก
    • กำหนดให้คณะทำงาน ซึ่งประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่เวชสถิติของโรงพยาบาล เป็นคณะกรรมการตรวจสอบเวชระเบียน โดยกำหนดสัดส่วนในการประเมิน ดังนี้
    • คณะกรรมการตรวจสอบเวชระเบียน เมื่อประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยในแต่ละเดือนแล้วให้ทำการรายงานผลการตรวจสอบไปให้คณะกรรม PCT และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วย
    • ปรับปรุงโปรแกรมสำหรับการลงบันทึกการตรวจสอบเวชระเบียน เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลผู้รับบริการและจัดทำสรุปรายงานที่ต้องการประมวลผลได้สะดวกมากขึ้น
  2. ระยะเวลาที่มีการเก็บรักษาเวชระเบียน
    • เวชระเบียนผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยใน กำหนดให้มีการจัดเก็บเป็นเวลา 10 ปี
    • เวชระเบียนผู้ป่วยคดีความ กำหนดให้มีการจัดเก็บเวชระเบียนไว้เป็นเวลา 10 ปี
    • ประสิทธิภาพของระบบการจัดเก็บเวชระเบียน
  3. กรรมการสารสนเทศกำหนดให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บแฟ้มเวชระเบียน ดังนี้
    • เวชระเบียนผู้ป่วยนอก
    • รายงานผล Lab out
    • เวชระเบียนผู้ป่วยใน
    • สถานที่จัดเก็บเวชระเบียนผู้ป่วยนอกให้มีความสะดวกต่อการค้นหาและจัดเก็บแฟ้มประวัติผู้ป่วยนอกที่ติดต่อกับโรงพยาบาลอย่างน้อย 5 ปี
  4. ประสิทธิภาพของการค้นหาเวชระเบียน
    • ผู้ป่วยนอก กำหนดให้ห้องตรวจโรค หน่วยงานต่างๆ ส่งคืนห้องบัตรทุกวันภายใน 24 ชั่วโมง
    • ผู้ป่วยใน กำหนดให้หอผู้ป่วยในส่งคืนแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วยหลังจำหน่ายภายใน 48 ชั่วโมง และแฟ้มผู้ป่วยในภายใน 7 วัน
    • กรณีผู้ป่วยเก่า การค้นแฟ้มเวชระเบียนออกจากห้องกำหนดให้ได้ภายในเวลาเฉลี่ย 1 นาที ถ้าค้นแฟ้มไม่พบให้เจ้าหน้าที่เวชระเบียนออกใบแทน และติดตามแฟ้มเวชระเบียนมาจัดเก็บข้อมูลภายหลัง
    • กรณีผู้ป่วยนัด ให้เจ้าหน้าที่เวชระเบียนเวรบ่ายและเวรดึกของแต่ละวันค้นบัตรเตรียมไว้ล่วงหน้า
    • งานเวชระเบียนส่งตรวจ visit ของผู้ป่วยนอกผ่านระบบ computer 100 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้สามารถติดตามตำแหน่งของแฟ้มได้ หากเกิดปัญหาค้นแฟ้มเวชระเบียนไม่พบ ให้บันทึกในคอมพิวเตอร์ทุกครั้งเพื่อติดตามสาเหตุของปัญหา
  5. ความปลอดภัยในการจัดเก็บเวชระเบียน
  6. การสูญหายและความเสียหายของเวชระเบียน
  7. คุณภาพในการให้รหัส
  8. การปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบ