วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ทดสอบดูภาพ x-ray บน ipad


วันนี้ผมมีงานที่ต้องทดสอบบางอย่าง เพื่อหาทางเลือกที่จะนำเสนอคณะกรรมการบริหารในการประชุมสัปดาห์หน้า ซึ่งจากที่มีความคิดเห็นใน FB ของทีมโรงพยาบาลเลย ทำให้ผมลองมาค้นหา และทดสอบการใช้งานบางอย่างเพิ่มเติม ซึ่งแน่นอนครับว่าการออกแบบระบบคงไม่ใช่เอาเทคโนโลยีเป็นตัวตั้ง และให้คนปรับเข้าหาอย่างเดียว บางเรื่องมันก็มีจุดสมดุลที่สามารถปรับเข้าหากันได้..

ในวันนี้งาน xray จะถ่ายภาพที่เป็นฟิลม์เฉพาะรายที่จะส่งต่อเท่านั้นครับ ข้อมูลในส่วนของโรงพยาบาลจะให้ดูผ่านวงแลนตามปกติ ซึ่งเท่าที่สอบถามผู้ใช้ทั้งแพทย์และพยาบาล ให้ความเห็นว่าสะดวกดี และรอไม่นาน แต่ก็มีประเด็นว่ากรณีที่ไม่ได้อยู่ในจุดที่มีคอมพิวเตอร์แล้วบางครั้งติดงานอย่างอื่นอยู่ ซึ่งก่อนหน้านี้มีฟิลม์ไปให้ดู แต่ถ้าจะไม่ใช้ฟิลม์แล้วจะทำอย่างไรได้บ้าง ผมเลยนึกถึง ipad ว่าจะช่วยอะไรได้บ้างเลยทดสอบเปิดดูภาพผ่าน web browser ของ Safari ใน ipad ครับ ซึ่งสามารถ log in เข้าไปดูรายชื่อได้แต่พอถึงขั้นตอนจะ view ดูภาพ ติดขัดตรง Microsoft silverlightนี่แหละครับ ผมกลับไปถามทางฝ่ายเทคนิคของบริษัทสุพรีมแบบทีเล่นทีจริงว่า มี App ที่ใช้กับ ipad ไหม๊ครับ (ทีจริงก็รู้อยู่แล้วว่าไม่มี..ฮ่า)


ประเด็นที่ต้องการให้สามารถดูได้บน ipad ผมก็คิดเผื่อไว้นะครับ ถ้ามันเข้าถึงได้จริงอาจจะเป็นทางเลือกให้ใช้ เช่น เวลาที่เอาภาพไปให้แพทย์เวรดูที่บ้าน หรือจุดที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้งาน พอนึกว่ามันเป็นภาพ ทำให้ผมคิดถึงหลักการที่คุณหมอสมยุทธโพสต์บอกไว้ใน FBว่ามันก็เป็นภาพ digital อย่างหนึ่ง ผมเลยทดสอบดูว่า PrtScrn เทคโนโลยีพื้นฐานของ windowsจะช่วยแก้ปัญหาได้หรือไม่ จึงทดลองจับภาพและ save ส่งผ่าน googleplus+ และแนบไฟล์ผ่านทางเมล์ดู ซึ่งเห็นได้ชัดครับว่าไฟล์มีขนาดที่ไม่ใหญ่มาก การส่งผ่านระบบอินเตอ์เนตสามารถทำได้รวดเร็ว แต่ยังคงต้องให้ทีมแพทย์ประเมินผลดูอีกทีว่า คุณภาพของภาพที่ได้กับการใช้งานในทางการแพทย์ พอจะใช้เป็นทางเลือกในการดูภาพแทนฟิลม์อีกวิธีหนึ่งได้หรือไม่..

แต่อยากให้เข้าใจอย่างนี้ครับว่า เวลาออกแบบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้โรงพยาบาลความปลอดภัยของคนไข้ต้องมาก่อน ในขณะเดียวกันยังต้องคำนึงวิธีการทำงานของคนที่อยากใช้ คนที่ไม่ต้องการใช้ และคนที่เฉยๆ กับเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งบางครั้งต้องมีทางเลือกให้กับคนทั้ง 3 กลุ่ม และที่สำคัญยังต้องคิดถึงเวลาที่ระบบล่มด้วยว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร..
.........................................................................................................................................................
เทคนิคการเก็บฟิล์ม X-ray ลงคอมพิวเตอร์
เทคนิค ใช้ถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอลธรรมดา(Leica digilux zoom 1.3 ล้าน Pixel )ไม่ใช้ Flash ใช้ แค่ไฟจากกล่องดูฟิล์มปกติ เท่านั้น ควรถ่ายโดยตั้งกล้องเพื่อให้ เป็นภาพแนวตั้ง ตามความยาวของฟิล์ม (แล้วมาหมุนให้ตรง ตอนแต่งภาพอีกครั้ง) 
การตั้งความคมชัด ใช้ mode Fine (ละเอียด)
ขนาดภาพ สำหรับฟิล์มเอกซ์เรย์ธรรมดา
ถ้าใช้ ดูในจอมอนิเตอร์ปกติ หรือ เพื่อใช้ งานกับ Website ใน อินเตอร์เน็ต รวมทั้งการรับส่งทาง e mail ใช้ถ่ายเพียงแค่ 640 X480 Pixel ( 3 แสน Pixel ) ก็จะพอดี สำหรับดูผ่านทางหน้าจอมอนิเตอร์ (ภาพไม่ล้น จอ) โดยได้รายละเอียดชัดพอสมควร
ถ้าเป็นฟิล์ม CT Scan 
รูปฟิล์มต้นฉบับค่อนข้างเล็ก แนะนำให้ใช้ ขนาด 1280 X 1024 pixel (1.3 ล้าน pixel) ซึ่งสามารถเลื่อนดูรายละเอียดของภาพทีล่ะส่วนได้ดี หรือถ้าใช้พิมพ์ออกมา จะมีความคมชัดสูงกว่าภาพขนาดเล็ก แต่ข้อเสีย คือภาพจะล้นจอ เวลาดูภาพต้องเลื่อนดูทีละส่วนของภาพ และขนาดไฟล์ของภาพที่ใหญ่ ถ้านำมาใช้ทำเว็บหรือส่ง e mail จะโหลดได้ช้า กว่า 
การเลือก Save ชนิดของภาพ 
  • ถ้าต้องการเก็บ เพื่อดูในเครื่องเฉย หรือเก็บไว้พิมพ์
    • แนะนำให้เซฟไว้ เป็น ไฟล์ *.bmp ซึ่งจะให้ภาพเมื่อพิมพ์ออกมาชัดเจนดี แต่ขนาดไฟล์จะใหญ่มาก (ใหญ่กว่า ไฟล์ชนิด *.jpgประมาณ สิบเท่า) จึงไม่เหมาะกับการทำเว็บ และส่ง ทาง E mail 
  •  ถ้าเก็บไว้เพื่อ ทำเป็นเว็บหรือส่งทางอีเมล์ 
    •  แนะนำให้เซฟเป็นไฟล์ *.jpg ซึ่งขนาดไฟล์จะเล็ก ทำให้โหลดได้ไว ส่งทางเมล์ได้ง่าย ความคมชัดจะลดลงไปเล็กน้อย ตอน Save File เป็น *.jpg เลือกได้สามระดับ ตั้งแต่ High quality , Medium quality และ Low quality เลือกใช้ตามความต้องการโดยชั่งน้ำหนักผลดีเรื่องความละเอียด กับขนาดของภาพที่ใหญ่มากขึ้น ตามความต้องการของแต่ละคน
ข้อสังเกตุ 
การ Save ไฟล์ด้วย โหมด High quality ทำให้ขนาดของไฟล์ใหญ่กว่า Medium quality กว่าเท่าตัว แต่ความคมชัดไม่ต่างกันมากนัก ถ้าใช้เพื่อการทำเว็บหรือ เมล์ การเซฟด้วย Medium หรือ low quality น่าจะดีกว่าในแง่ ขนาดภาพ จะเห็นว่าขั้นตอนต่างๆในการจัดเก็บ ไม่ยุ่งยาก อาศัยเพียง กล้องดิจิตอลขนาดเล็กเพียงตัวเดียว กับ Computor PC เท่านั้น ก็ทำได้แล้ว แต่หมดปัญหาเรื่อง การเก็บฟิล์ม ที่เกะกะขนาดใหญ่ หรือการเสื่อมสภาพเปลี่ยนสี ของฟิล์ม ตลอดจนสะดวกในการส่งฟิล์ม