วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิผู้ป่วยของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย
.....................................

ข้อ  1  ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิพื้นฐานที่จะได้รับบริการด้านสุขภาพตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
ข้อ  2  ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ เนื่องจากความแตกต่างด้านฐานะ  เชื้อชาติ สัญชาติ  ศาสนา  สังคม  ลัทธิการเมือง  เพศ  อายุ  และลักษณะของความเจ็บป่วย

เจ้าหน้าที่ที่ให้บริการผู้ป่วยต้อง
  • ทำความเข้าใจกับสิทธิการรักษาพยาบาลแบบต่างๆ
  • เมื่อพบผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับสิทธิการรักษาที่ควรได้ หรือมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิการรักษาให้ส่งปรึกษาศูนย์ประกันทันที  หลังการรักษาภาวะฉุกเฉินเร่งด่วนแล้ว
  • หากผู้ป่วยต้องการการรักษาที่ไม่อยู่ในสิทธิตามกฎหมาย ต้องชี้แจงและตกลงเรื่องค่าใช้จ่ายก่อนการรักษา  และบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ  3  ผู้ป่วยที่ขอรับบริการด้านสุขภาพมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอและเข้าใจชัดเจน  จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอมให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตน  เว้นแต่เป็นการช่วยเหลือรีบด่วนหรือจำเป็น
ข้อ   ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตมีสิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือรีบด่วนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยทันทีตามความจำเป็นแก่กรณี  โดยไม่คำนึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่
  • แพทย์ต้องอธิบายให้ผู้ป่วยทราบถึงอาการของโรควิธีการรักษาผลดี ผลเสียที่อาจจะมีขึ้นด้วยด้วยภาษาที่ผู้ป่วยสามารถรับรู้และตัดสินใจได้
  • ก่อน Admit แพทย์ต้องแจ้งผู้ป่วยถึงการวินิจฉัยโรคเบื้องต้น  เหตุผลที่ต้อง Admitระยะเวลาที่คาดว่าจะต้องอยู่โรงพยาบาล  หากต้องทำหัตถการต้องระบุชื่อหัตถการและวิธีการให้ระงับความรู้สึกและให้เจ้าหน้าที่อื่นเป็นผู้จัดการให้ผู้ป่วยลงนามยินยอม (Informed Consent)
  • หากผู้ป่วยเป็นโรคร้ายแรง  เช่น  มะเร็ง และแพทย์เห็นว่าผู้ป่วยไม่อยู่ในสภาวะที่จะรับความจริงได้ การบอกความจริงอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดความวิตกกังวลอย่างมากควรบอกกับญาติแทน และปรึกษากับญาติว่าควรให้ผู้ป่วยรับทราบความจริงในระดับใด
  • การรักษาทางกายภาพบำบัดและการแพทย์แผนไทย นักกายภาพบำบัดและเจ้าพนักงานการแพทย์แผนไทยเป็นผู้ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมให้แก่ผู้ป่วย
  • การจับยึด มัด แยก ต้องระบุข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ให้ชัดเจนในเวชระเบียน และอธิบายให้ผู้ป่วยหรือญาติทราบ
  • กรณีผู้ป่วยไม่ยินยอมไม่ร่วมมือในการรักษา แพทย์มีหน้าที่ให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยว่าจะเกิดผลอะไรตามมา และบันทึกไว้ในเวชระเบียนให้ผู้ป่วยลงนามปฏิเสธการรักษาและแพทย์ปรับการรักษาที่ผู้ป่วยยอมรับ หรือส่งต่อให้สถานบริการอื่นดูแลต่อ
ข้อ  5  ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบชื่อ  สกุลและประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่เป็นผู้ให้บริการแก่ตน
  • ทีมรักษาพยาบาลต้องติดป้ายชื่อและตำแหน่งหรือแจ้งให้ผู้รับบริการทราบก่อนให้การรักษาพยาบาล
ข้อ  6  ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่น ที่มิได้เป็นผู้ให้บริการแก่ตน  และมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ให้บริการและสถานบริการได้
  • ผู้ป่วยที่ตรวจกับพยาบาลแล้วหากต้องการพบแพทย์ให้ส่งปรึกษาแพทย์
  • หากผู้ป่วยขอให้ส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่น ให้ส่งต่อตามขั้นตอนของการใช้สิทธิในระบบประกันสุขภาพฯ ยกเว้นแต่ผู้ป่วยไม่ต้องการใช้สิทธิให้ส่งไปโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยต้องการ
ข้อ  7  ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเองจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยเคร่งครัด  เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
  • กรณีบริษัทประกันขอทราบข้อมูลของผู้ป่วยต้องมี หนังสือยินยอมจากผู้ป่วยประกอบทุกครั้ง  และนำเอกสารข้อมูลของผู้ป่วยใส่ซองตีตรา ลับ ส่งให้บริษัทประกัน
  • เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลทุกคนรวมทั้งเจ้าหน้าที่บริษัทที่ทำงานในโรงพยาบาลต้องเคารพในศักดิ์ศรีและความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วยและมีหน้าที่ในการปกปิดความลับของผู้ป่วย
  • การเปิดเผยร่างกายของผู้ป่วยเพื่อการตรวจวินิจฉัยรักษาพยาบาลต้องกระทำในที่มิดชิดและมีเฉพาะเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจำเป็นอยู่ด้วย
ข้อ  8  ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วนในการตัดสินใจเข้าร่วมหรือถอนตัวจากการเป็นผู้ถูกทดลองในการวิจัยของผู้ประกอบการวิชาชีพด้านสุขภาพ
ข้อ  9  ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตนที่ปรากฎอยู่ในเวช  ระเบียนเมื่อร้องขอทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น
  • เมื่อผู้ป่วยร้อง ขอประวัติในเวชระเบียน ให้แพทย์ผู้ดูแลสั่งถ่ายเอกสารให้ผู้ป่วยโดยคิดค่าถ่ายเอกสารได้  แต่ต้องลบข้อมูลส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่นออก  เช่น ติดโรคมาจากใคร
ข้อ  10  บิดา  มารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรมอาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์  ผู้บกพร่องทางกายหรือจิต  ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิด้วยตนเองได้
  • การดูแลรักษาผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 1ปี ให้ขออนุญาตจากพ่อแม่ หรือผู้ปกครองโดยชอบธรรม
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคจิต ปัญญาอ่อน หรือมีภาวะสับสนไม่รู้สึกตัวต้องให้ญาติสายตรงเป็นผู้ใช้สิทธิแทน
  • กรณีไม่มีญาตินำส่ง ให้ผู้นำชุมชนหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจร่วมรับรู้ด้วย
  • ภาวะฉุกเฉิน  เร่งด่วน ไม่อาจรอได้ให้บันทึกเหตุผลความจำเป็นไว้ในเวชระเบียนให้ชัดเจน