วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554


เลขที่ WI-IMT-020 
วันที่ปรับปรุง 08/08/2554 
เรื่อง การปฏิบัติกรณีไฟฟ้าดับ
ผู้รับผิดชอบ : กรรมการสารสนเทศ,ศูนย์คอมพิวเตอร์,งานซ่อมบำรุง,เจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ

วิธีปฏิบัติ

1. กรณีไฟฟ้าดับและเครื่องปั่นไฟสำรองไม่ทำงาน ระยะเวลาไม่เกิน 30 นาที

เจ้าหน้าที่ศูนย์คอมพิวเตอร์
  • หัวหน้า/รองหัวหน้า หรือผู้รับแจ้งปัญหาของศูนย์คอมพิวเตอร์ประสานงานกับงานซ่อมบำรุง เพื่อขอทราบสาเหตุของปัญหาและระยะเวลาในการแก้ไข หากสามารถแก้ไขได้ภายใน 30 นาที ให้ตรวจสอบการทำงานของ UPS ที่ห้อง server
  • หากสามารถใช้ไฟสำรองจากแผนกฉุกเฉินได้ ให้เตรียมสะพานไฟจากห้อง Serverและเปลี่ยนจุดจ่ายไฟฟ้าจากตำแหน่งปกติ เป็นตำแหน่งจ่ายไฟสำรองจากจากแผนกฉุกเฉิน
  • ประกาศแจ้งทางวิทยุสื่อสาร/โทรโข่ง/แจ้งด้วยวาจา ให้หน่วยงานต่างๆทราบเพื่อปิดคอมพิวเตอร์และเครื่องสำรองไฟชั่วคราว
  • สำรวจ/รับแจ้งปัญหา การทำงานของเครื่องสำรองไฟฟ้า(UPS) เครื่องคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานต่างๆขณะไฟฟ้าดับว่าสามารถไฟได้หรือไม่
  • เมื่อระบบไฟฟ้าสามารถทำงานได้ปกติ ให้ตรวจสอบความเรียบร้อยของ Server และอุปกรณ์เครือข่าย SwitchHUB, Access Point 
  • ตรวจสอบการเข้าใช้งานโปรแกรม HOSxP 
  • ประกาศแจ้งให้หน่วยงานต่างๆ เปิดคอมพิวเตอร์ใช้งาน HOSxP ได้ตามปกติ

เจ้าหน้าที่งานเวชระเบียน
  • เมื่อได้รับแจ้งจากศูนย์คอมพิวเตอร์ให้นำแบบฟอร์มใบสั่งยา*(สำหรับออกหน่วย)เพื่อใช้บันทึกข้อมูลชั่วคราว
  • กรณีผู้ป่วยรายใหม่ให้เขียนบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์ม

เจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ
  • เมื่อได้รับแจ้งจากศูนย์คอมพิวเตอร์ให้ปิดแอร์ /ปิดคอมพิวเตอร์ชั่วคราว
  • ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่รอรับบริการทราบ ให้บริการตามปกติ และเขียนข้อมูลลงในแบบฟอร์มใบสั่งยา และเก็บเอกสารไว้ที่ห้องจ่ายยากเพื่อลงบันทึกบริการย้อนหลัง
  • กรณีเครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS) มีปัญหาไม่สำรองไฟ ให้แจ้งศูนย์คอมพิวเตอร์
  • เมื่อได้รับแจ้งว่าระบบคอมพิวเตอร์สามารถใช้งานได้ตามปกติ ให้นำข้อมูลบริการลงบันทึกใน HOSxP ย้อนหลัง
2. กรณีไฟฟ้าดับและเครื่องปั่นไฟสำรองไม่ทำงาน ระยะเวลาเกิน 30 นาที


เจ้าหน้าที่ศูนย์คอมพิวเตอร์
  • หัวหน้า/รองหัวหน้า หรือผู้รับแจ้งปัญหาของศูนย์คอมพิวเตอร์ประสานงานกับงานซ่อมบำรุง เพื่อขอทราบสาเหตุของปัญหาและระยะเวลาในการแก้ไข หากไม่สามารถแก้ไขได้ภายใน 30นาที  และไม่มีระบบไฟฟ้าสำรอง ให้แจ้งประธานคณะกรรมการสารสนเทศ /ผู้อำนวยการทราบ  
  • ประธานกรรมการสารสนเทศ/หัวหน้า/รองศูนย์คอมพิวเตอร์ ประกาศใช้แผนฉุกเฉินกรณีระบบเครือข่ายไม่สามารถใช้งานได้ ให้หน่วยงานต่างๆทราบ
  • แจ้งฝ่ายบริหารขอเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล/เจ้าหน้าที่ศูนย์คอมพิวเตอร์,พนักงานขับรถ ช่วยงานที่ห้องเวชระเบียน
  • สำรวจ/รับแจ้งปัญหา การทำงานของเครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS) เครื่องคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานต่างๆ
  • เมื่อระบบไฟฟ้าสามารถทำงานได้ปกติ ให้ตรวจสอบความเรียบร้อยของ Serverและอุปกรณ์เครือข่าย และข้อมูลในโปรแกรม HOSxP
  • ประธานกรรมการสารสนเทศ/หัวหน้า/รองศูนย์คอมพิวเตอร์  ประกาศแจ้งยกเลิกแผนฉุกเฉินกรณีระบบเครือข่ายไม่สามารถใช้งานได้ให้หน่วยงานต่างๆทราบ เมื่อระบบสามารถใช้งาน HOSxP ได้ตามปกติ
  • ติดตามตรวจสอบการลงบันทึกข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ
  • สรุปรายงานนำเสนอผู้อำนวยการและคณะกรรมการบริหารทราบ
เจ้าหน้าที่หน่วยงานเวชระเบียน
  • จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับบันทึกข้อมูลดังนี้
    • แบบฟอร์มใบสั่งยา สำหรับออกหน่วย
    • ปากกา,ตราปั้มวันที่
    • คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คของงานเวชระเบียนที่ติดตั้งฐานข้อมูล HOSxP สำหรับค้นข้อมูล HN ของผู้ป่วย
    • เมื่อระบบสามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ ให้นำข้อมูลจากใบสั่งมาลงบันทึกส่งตรวจย้อนหลังจนเป็นปัจจุบัน
เจ้าหน้าที่จุดคัดกรอง/ห้องตรวจ/ห้องชันสูตร/ห้อง X-ray/ฝ่ายเวชปฏิบัติครอบครัว/ฝ่ายทันตสาธารณสุข/งานเวชกรรมฟื้นฟู/อื่นๆ
  • เมื่อได้รับแจ้งประกาศใช้แผนฉุกเฉินกรณีระบบล่ม ให้ปิดเครื่องสำรองไฟฟ้าและหยุดการลงบันทึกข้อมูลในคอมพิวเตอร์
  • แจ้งประชาสัมพันธ์ให้ผู้รับบริการทราบ
  • บันทึกบริการ/กิจกรรม/เวชภัณฑ์ ในใบสั่งยาแทน OPD card
  • เมื่อระบบสามารถใช้งานได้ตามปกติ ให้นำข้อมูลการให้บริการลงบันทึกข้อมูลในคอมพิวเตอร์ย้อนหลังในโปรแกรม HOSxP
เจ้าหน้าที่ห้องจ่ายยา

    • เมื่อได้รับแจ้งประกาศใช้แผนฉุกเฉินกรณีระบบล่ม ให้ปิดเครื่องสำรองไฟฟ้าและหยุดการลงบันทึกข้อมูลในคอมพิวเตอร์
    • แจ้งประชาสัมพันธ์ให้ผู้รับบริการทราบ
    • ลงบันทึกการจ่ายเวชภัณฑ์ กิจกรรมลงในใบสั่งยาและเขียนซองยา
    • เก็บใบสั่งยากไว้ที่ห้องจ่ายยา เพื่อลงบันทึกข้อมูลย้อนหลังเมื่อระบบสามารถใช้งานได้ตามปกติ
    เจ้าหน้าห้องการเงิน
    • กรณีมีค่าใช้จ่ายที่สามารถสรุปค่าใช้จ่ายได้ เช่น ใบรับรองแพทย์ให้เก็บเงินโดยใช้ใบเสร็จเล่มเขียว
    • กรณีไม่สามารถสรุปค่าใช้จ่ายได้ ให้แยกใบสั่งยาไว้และแจ้งผู้ป่วย/ญาติทราบว่าจะลงบันทึกเป็นผู้ป่วยค้างชำระไว้ก่อนชั่วคราว
    • เมื่อระบบคอมพิวเตอร์สามารถใช้งานได้ตามปกติ และหน่วยงานต่างๆ ลงบันทึกข้อมูลบริการในโปรแกรม HOSxP เรียบร้อย การเงินสรุปค่าใช้จ่าย ทำค้างชำระ
    เมื่อระบบไฟฟ้าสามารถใช้งานได้ตามปกติ ให้คณะกรรมการสารสนเทศ/หัวหน้า/รองหัวหน้าศูนย์คอมพิวเตอร์ตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลให้เรียบร้อย และเป็นปัจจุบัน จึงประกาศยกเลิกแผนฉุกเฉิน