วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

คู่มือ การลงบันทึกข้อมูลวัคซีน ER
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อุบัติเหตุฉุกเฉิน
update 04/10/2554
...........................................................................................................
การลงบันทึกข้อมูลการวัคซีนที่ ER
การให้บริการฉีดวัคซีนที่ ER จะมีวัคซีนที่ให้บริการสำคัญ คือ วัคซีน TT (ป้องกันบาดทะยัก) และวัคซีน Rabies (ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
  1. วัคซีนป้องกันบาดทะยัก (TT) แบ่งออกเป็น
    • ทีที เข็ม 1
    • ทีที เข็ม 2
    • ทีที เข็ม 3
    • ทีที เข็ม 4 (กระตุ้นครั้งที่ 1)
    • ทีที เข็ม 5 (กระตุ้นครั้งที่ 2)
  2. วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) แบ่งออกเป็น
    • วัคซีนพิษสุนัขบ้า 1
    • วัคซีนพิษสุนัขบ้า 2
    • วัคซีนพิษสุนัขบ้า 3
    • วัคซีนพิษสุนัขบ้า 4 (เข็มสุดท้าย)
    • วัคซีนพิษสุนัขบ้า 5 (กระตุ้น)
ในการลงบันทึกข้อมูลการฉีดวัคซีนมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องที่ลงบันทึกข้อมูล คือ
  1. ข้อมูลรายการหัตถการที่ให้บริการ ตาราง Proced
  2. ข้อมูลรายการวัคซีนที่ฉีด ตาราง Drug
  3. ข้อมูลวัคซีน ตาราง EPI** (วัคซีน ,Lot No., วันหมดอายุ,ผู้ฉีด)
ซึ่งการลงบันทึกข้อมูลในปัจจุบันลงข้อมูลเฉพาะข้อ 1 และข้อ 2 แต่ข้อ 3 ยังไม่มีการลงบันทึกข้อมูลที่ถูกต้อง โดยมีรายละเอียดของการลงบันทึกข้อมูลดังนี้


  •  หมายเลข 1 ลงข้อมูลหัตถการที่ให้บริการ
  • หมายเลข 2 ลงข้อมูลเวชภัณฑ์/วัคซีนที่ให้บริการ
  • หมายเลข 3 ลงข้อมูลวัคซีน
การลงข้อมูลวัคซีน
  1. ลงบันทึกข้อมูลหัตถการ และข้อมูลเวชภัณฑ์ (1,2 ) ตามขั้นตอนปกติ
  2. กดปุ่ม Vaccine เพื่อลงบันทึก โปรแกรมจะแสดงหน้าต่างให้ลงบันทึกข้อมูล
  3. เลือกรายการวัคซีนที่ต้องการลง ในช่อง “ชื่อ Vaccine” ส่วนรายการ Lot No. จะแสดงขึ้นให้เลือกตามรายการที่ลงรับไว้ ให้เลือก Lot No. ที่ต้องการ โปรแกรมจะดึงข้อมูลวันหมดอายุให้อัตโนมัติ และลงข้อมูลเจ้าหน้าที่
การทำรายงานตรวจสอบข้อมูล
หลังจากลงบันทึกข้อมูลฉีดวัคซีน สามารถตรวจความถูกต้องของข้อมูลย้อนหลังได้ ดังนี้
  1. ไปที่เมนูหลัก รายงาน เลือกเมนูระบบรายงาน End user report โปรแกรมจะแสดงหน้าต่างรายงาน ให้เลือกระบบรายงานอุบัติเหตุฉุกเฉินด้านซ้ายมือ
  2. เลือกรายงาน CUSTUM-ER-รายชื่อผู้รับบริการฉีดวัคซีนที่ห้องฉุกเฉิน
  3. เลือกช่วงวันที่ที่ต้องการทำรายงาน (ไม่ควรเลือกช่วงวันที่มากกว่า 1 เดือน เพราะจะทำให้ระบบใช้เวลาในการประมวลผลนานมาก)